หน้าเว็บ

สยามรถรับจ้างขนของ ( 083-925-2551 เติ้ล ) 

ทางเรามีบริการรถรับจ้างขนของประเภท
   - รถกระบะ พร้อมคนยก
   - รถสี่ล้อใหญ่ (4ล้อ) พร้อมคนยก
   - รถหกล้อ (6ล้อ) พร้อมคนยก
คอยให้บริการขนย้าย ห้องพัก บ้าน ที่อยู่อาศัย สำนักงาน วัสดุ อุปกรณ์ และสินค้าต่าง
บริการจัดส่งทั่วประเทศไทย ตลอด 24 ชั่วโมง

จุดที่รถของเราประจำอยู่มีดังนี้ครับ
   - บางนา บริเวณถนนอุดมสุข
   - บางบ่อ บริเวณหมู่บ้านทรัพมั่นคง (ทีมงานหลัก)
   - บางเขน บริเวณถนนรามอินทรา กม.4
   - มีนบุรี บริเวณถนนรามอินทรา
   - ดอนเมือง
   - ฝั่งธนบุรี บริเวณแยกท่าพระ
  
ติดต่อสอบถามราคาครับ

- โทร : 083-925-2551คุณอาทิตย์ (เติ้ล )
- เมล์ : 
arthit.san@tspkk.co.th
- เมล์ : arthit_sanorkham@hotmail.com ( face book )
- ไอดีไลน์ : arthit_sanotkham

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์ ( Official webside )
http://siamrodrubjang.blogspot.com
http://สยามรถรับจ้าง1.blogspot.com/

อัตราค่าบริการ 

รถกระบะ
   - แบบตอนเดียวมีคอกเหล็ก
   - แบบแคบมีหลังคาสูงใช้ผ้าใบคลุมข้าง
   - ราคาเริ่มต้นที่ 800 บาท ค่าพนักงานยกของคนละ 300 บาท
รถสี่ล้อใหญ่ ( 4ล้อใหญ่ )
   - มีคอกเหล็กใช้ผ้าใบคลุม -ไม่ติดเวลา
   - ราคาเริ่มต้นที่ 1,700 บาท ค่าพนักงานยกของคนละ 400 บาท
รถหกล้อ ( 6ล้อ )
   - มีคอกเหล็กใช้ผ้าใบคลุม - ขนาด กว้าง 2.2 x ยาว 6.5 เมตร 
   - ราคาเริ่มต้นที่ 2,400 บาท ค่าพนักงานยกของคนละ 500 บาท
 

การแบ่งเขตการปกครอง (เมืองนนทบุรี)

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเมืองนนทบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 10 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวมทั้งหมด 70 หมู่บ้าน (หรือ 26 หมู่บ้าน หากไม่นับรวมในเขตเทศบาลนครนนทบุรีและเทศบาลเมืองบางศรีเมืองซึ่งไม่มี ตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว) ได้แก่

1.สวนใหญ่(Suan Yai)9 หมู่บ้าน6.บางไผ่(Bang Phai)5 หมู่บ้าน
2.ตลาดขวัญ(Talat Khwan)11 หมู่บ้าน7.บางศรีเมือง(Bang Si Mueang)5 หมู่บ้าน
3.บางเขน(Bang Khen)9 หมู่บ้าน8.บางกร่าง(Bang Krang)10 หมู่บ้าน
4.บางกระสอ(Bang Kraso)9 หมู่บ้าน9.ไทรม้า(Sai Ma)6 หมู่บ้าน
5.ท่าทราย(Tha Sai)ยกเลิกระบบหมู่10.บางรักน้อย(Bang Rak Noi)6 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลนครนนทบุรี ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองนนทบุรีฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ ตำบลสวนใหญ่ ตำบลตลาดขวัญ ตำบลบางเขน ตำบลบางกระสอ และตำบลท่าทราย
  • เทศบาลเมืองบางศรีเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางศรีเมืองทั้งตำบลและตำบลบางกร่าง (เฉพาะหมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 3, 9)
  • เทศบาลตำบลไทรม้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรม้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางไผ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางกร่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกร่าง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางศรีเมือง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางรักน้อยทั้งตำบล

การคมนาคม

ทางบก

รถยนต์

ถนนสายสำคัญของอำเภอ ได้แก่
  1. ถนนประชาราษฎร์ เริ่มตั้งแต่สี่แยกติวานนท์ ตัดผ่านสี่แยกศรีพรสวรรค์ สิ้นสุดที่บริเวณหอนาฬิกาท่าน้ำนนทบุรี
  2. ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 301) เริ่มตั้งแต่สี่แยกติวานนท์ ตัดผ่านตำบลบางเขน เข้าสู่เขตบางซื่อ (กรุงเทพมหานคร) ตัดผ่านสี่แยกวงศ์สว่าง ไปสิ้นสุดที่สามแยกเตาปูน
  3. ถนนงามวงศ์วาน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302) เริ่มตั้งแต่สี่แยกแคราย สี่แยกพงษ์เพชร เข้าสู่เขตหลักสี่และเขตจตุจักร (กรุงเทพมหานคร) ผ่านสี่แยกบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปสิ้นสุดที่สี่แยกเกษตร
  4. ถนนรัตนาธิเบศร์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302) เริ่มตั้งแต่สี่แยกแคราย ผ่านศูนย์ราชการจังหวัด ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ตัดผ่านสี่แยกบางพลู (อำเภอบางบัวทอง) ไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางใหญ่ (ถนนกาญจนาภิเษก)
  5. ถนนพิบูลสงคราม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306) เริ่มตั้งแต่สี่แยกศรีพรสวรรค์ ตัดผ่านตำบลสวนใหญ่ เข้าสู่เขตบางซื่อ ผ่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สิ้นสุดที่สามแยกพิบูลสงคราม
  6. ถนนติวานนท์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306) เริ่มตั้งแต่สี่แยกติวานนท์ ผ่านสี่แยกแคราย ห้าแยกปากเกร็ด ท้องที่อำเภอปากเกร็ด เข้าสู่อำเภอเมืองปทุมธานี (จังหวัดปทุมธานี) ไปสิ้นสุดที่ถนนรังสิต-ปทุมธานี
  7. ถนนนนทบุรี 1 เริ่มตั้งแต่บริเวณใกล้ท่าน้ำนนทบุรี ผ่านเรือนจำจำหวัดนนทบุรี (บางขวาง) วัดท้ายเมือง โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า สิ้นสุดที่สี่แยกสะพานพระนั่งเกล้า (ถนนรัตนาธิเบศร์)
  8. ถนนสนามบินน้ำ เชื่อมระหว่างสี่แยกสะพานพระนั่งเกล้ากับสามแยกสนามบินน้ำ (ถนนติวานนท์)
  9. ถนนประชาชื่น เริ่มตั้งแต่สามแยกประชาชื่น (เขตบางซื่อ) เลียบคลองประปา ผ่านสี่แยกประชานุกูล เข้าสู่อำเภอเมืองนนทบุรีที่ตำบลบางเขน ตัดผ่านสี่แยกพงษ์เพชร สามแยกสามัคคี-ประชาชื่น เข้าสู่อำเภอปากเกร็ด สิ้นสุดที่ถนนแจ้งวัฒนะ
  10. ถนนบางกรวย-ไทรน้อย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3215) เริ่มตั้งแต่สะพานพระราม 7 ผ่านอำเภอบางกรวย เข้าสู่อำเภอเมืองนนทบุรีที่ตำบลบางกร่าง จากนั้นเข้าท้องที่อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง และสิ้นสุดที่อำเภอไทรน้อย
  11. ถนนนครอินทร์ เริ่มตั้งแต่สี่แยกติวานนท์ ผ่านตำบลตลาดขวัญ ตำบลสวนใหญ่ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ตำบลบางไผ่ ตำบลบางศรีเมือง จากนั้นเข้าสู่เขตอำเภอบางกรวย ตัดกับถนนราชพฤกษ์ ไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางคูเวียง (ถนนกาญจนาภิเษก)
  12. ถนนราชพฤกษ์ เริ่มตั้งแต่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เขตธนบุรี (กรุงเทพมหานคร) เข้าสู่เขตจอมทอง ตัดผ่านถนนเพชรเกษมที่เขตภาษีเจริญ ตัดผ่านถนนบรมราชชนนีที่เขตตลิ่งชัน ตัดกับถนนนครอินทร์ที่อำเภอบางกรวย เข้าสู่อำเภอเมืองนนทบุรี ตัดผ่านถนนบางกรวย-ไทรน้อยและถนนรัตนาธิเบศร์ เข้าเขตอำเภอปากเกร็ด ไปสิ้นสุดที่ถนนบางบัวทอง-ปทุมธานี
  13. ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี เริ่มตั้งแต่ถนนพิบูลสงครามใต้ตัวจังหวัดเก่า ตัดผ่านถนนประชาราษฎร์ที่ตำบลตลาดขวัญ อ้อมตัวจังหวัดเก่า ไปสิ้นสุดที่ถนนนนทบุรี 1 เหนือตัวจังหวัดเก่า
  14. ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรี-สนามบินน้ำ เริ่มตั้งแต่ถนนเลี่ยงเมืองนนทบุรีใกล้ตลาด อตก.3 เก่า ตัดผ่านถนนรัตนาธิเบศร์ที่ตำบลบางกระสอ ไปสิ้นสุดที่ถนนสนามบินน้ำที่ตำบลท่าทราย

ถนนสายรอง ได้แก่ ซอยเรวดี (ตำบลตลาดขวัญ) ถนนสามัคคี (ตำบลท่าทราย) ถนนบางศรีเมือง ถนนบางศรีเมือง-วัดโบสถ์ดอนพรหม (ตำบลบางศรีเมืองและตำบลบางกร่าง)

ปัจจุบัน อำเภอเมืองนนทบุรีมีทางพิเศษ 1 สาย คือ ทางพิเศษศรีรัช และมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 3 แห่ง คือ สะพานพระนั่งเกล้า สะพานพระราม 5 และสะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า นอกจากนี้ยังมีโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีก 1 แห่ง คือ โครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1

ทางน้ำ

การสัญจรทางน้ำยังคงมีความสำคัญอยู่มากในอำเภอเมืองนนทบุรี โดยเฉพาะสำหรับผู้คนที่ต้องเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนและต้องการหลีกเลี่ยง การจราจรทางบกที่ติดขัด ปัจจุบันมีเส้นทางเดินเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา (เริ่มตั้งแต่อำเภอปากเกร็ด ผ่านอำเภอเมืองนนทบุรี ไปยังกรุงเทพมหานคร) และในคลองอ้อม

ท่าเรือด่วนเจ้าพระยา


สถานที่สำคัญ


สถานที่ที่น่าสนใจ

ตำบลสวนใหญ่


  • พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติวิทยา ตั้งอยู่หลังศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ซอยประชาราษฎร์ 19 (พิพิธภัณฑ์) ถนนประชาราษฎร์ เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2504 โดยชั้นล่างจัดแสดงประวัติของโลก พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิต ส่วนโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เครื่องลายครามต่าง ๆ เป็นต้น จัดแสดงอยู่บนชั้น 2 นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดประชาชนตั้งอยู่ข้าง ๆ ด้วย


ตำบลตลาดขวัญ


  • พิพิธภัณฑ์เขาสัตว์ เป็นพิพิธภัณฑ์ของเอกชน ตั้งอยู่เลขที่ 27/8 หมู่ที่ 6 ถนนประชาราษฎร์ ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงนิทรรศการเขาสัตว์และโบราณวัตถุจำนวนมากซึ่งมีอายุ ตั้งแต่ 16 ล้านปีถึง 100 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะเขาของสัตว์กินพืชและสัตว์กินเนื้อที่พบในประเทศไทย ชิ้นที่โดดเด่นที่สุดชิ้นหนึ่งคือ งาช้างแมมมอทยาว 2 เมตร พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตำบลบางเขน


  • พิพิธภัณฑ์และศูนย์ฝึกอบรมการแพทย์แผนไทย ตั้งอยู่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข ซอยติวานนท์ 4 (โรงพยาบาลศรีธัญญา) ถนนติวานนท์ ตัวพิพิธภัณฑ์เป็นอาคารทรงไทย 3 ชั้นซึ่งออกแบบโดยศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ โดยชั้นที่ 2 แบ่งออกเป็น 7 ห้อง ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการต่าง ๆ กัน เช่น ประวัติและวิวัฒนาการของการแพทย์แผนไทย ปรัชญาการแพทย์แผนไทย และเครื่องยาแผนไทยต่าง ๆ (ผู้สนใจเข้าชมต้องติดต่อล่วงหน้า)

ตำบลท่าทราย


  • วัดชมภูเวก ตั้งอยู่ที่ซอยนนทบุรี 33 (วัดชมภูเวก) ถนนสนามบินน้ำ มีชื่อเดิมว่า "วัดชมภูวิเวก" เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีความเงียบสงบมาก ชาวมอญเป็นผู้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2300 (สมัยอยุธยาตอนปลาย) ปัจจุบันยังคงมีจิตรกรรมฝาผนังพระวิหารและพระอุโบสถที่งดงามหลงเหลืออยู่ รวมทั้งซึ่งเป็นหมู่เจดีย์แบบมอญ (เรียกว่า "พระมุเตา") ที่สร้างโดยพระสงฆ์มอญเมื่อปี พ.ศ. 2460

ตำบลบางไผ่

  • วัดสังฆทาน ตั้งอยู่ที่ซอยวัดสังฆทานแยกถนนนครอินทร์ฝั่งขาออก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย มี "หลวงพ่อโต" พระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธานประดิษฐานในพระอุโบสถของวัด

  • วัดโชติการาม ตั้งอยู่ที่ถนนบางไผ่พัฒนาแยกถนนนครอินทร์ฝั่งขาออก มีชื่อเดิมว่า "วัดสามจีน" สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2350 สิ่งที่สวยงามที่สุดในวัดนี้คือ พระวิหารทรงโรงที่มีจิตรกรรมฝาผนังทั้งสี่ด้าน โดยเขียนภาพตั้งแต่พื้นขึ้นไปจรดเพดาน นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถทรงเรือสำเภาแบบอยุธยาตอนปลายอีกด้วย

ตำบลบางศรีเมือง

  • วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซอยเฉลิมพระเกียรติ 16 ถนนท่าน้ำ-วัดโบสถ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นโทที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2390 เพื่ออุทิศถวายแด่พระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนี (แต่มาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระอารามแห่งนี้แสดงให้เห็นถึงพระราชนิยมในพระองค์ ด้วย กล่าวคือ มีการผสมผสานรูปแบบศิลปะจีนไว้ในการก่อสร้าง เช่น พระอุโบสถหลังคามุงกระเบื้องแบบจีน โดยมีจิตรกรรมฝาผนัง บานประตูและหน้าต่างเขียนลายทองรดน้ำ ส่วนพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ มีพระนามว่า "พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา" ประดิษฐานอยู่ภายใน นอกจากนี้ยังมีอาคารที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น พระวิหารหลวง (วิหารพระศิลาขาว) พระเจดีย์ทรงกลม (แบบลังกา) ศาลาการเปรียญหลวง กำแพงใบเสมาและป้อมปราการทั้งสี่มุมรอบวัด

  • อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซอยเฉลิมพระเกียรติ 1 ถนนท่าน้ำ-วัดโบสถ์ ใกล้วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร มีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสที่ทรง ครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ซึ่งอุทยานแห่งนี้นอกจากจะเป็นสวนสาธารณะที่มีทั้งร่มเงาและความเงียบสงบให้ ผู้ที่ต้องการพักผ่อนแล้ว ยังมีศูนย์ศึกษาธรรมชาติ พืชพรรณ สัตว์ปีก และสัตว์น้ำนานาชนิดอีกด้วย อาคารที่โดดเด่นที่สุดคือ "วิมานสราญนวมินทร์" เป็นอาคารพลับพลาทรงไทยตั้งอยู่กลางสระน้ำของอุทยาน

ตำบลบางกร่าง

  • วัดปราสาท ตั้งอยู่ในซอยวัดปราสาท ถนนบางกรวย-ไทรน้อย สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จุดเด่นอยู่ที่ผนังพระอุโบสถ ตกแต่งด้วยจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายโดยฝีมือของสกุลช่างศิลปะนนทบุรี ในปัจจุบันถือว่าเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดซึ่งได้ รับการอนุรักษ์ไว้อย่างถูกวิธี นอกจากนี้ ที่ศาลาการเปรียญยังมีธรรมาสน์ที่มีลวดลายสวยงาม มีอายุตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายเช่นเดียวกัน ดังนั้น วัดแห่งนี้จึงคุ้มค่าต่อการเข้าเยี่ยมชมและการศึกษาทางโบราณคดีอย่างยิ่ง ปัจจุบันจิตรกรรมฝาผนังบริเวณพระอุโบสถไดเลือนหายไปจนไม่เหลือเค้า

โครงเดิมอีกแล้ว

ตำบลบางรักน้อย

  • ศูนย์เกษตรบางรักน้อย เป็นสวนผลไม้พื้นเมืองซึ่งยังคงรักษารูปแบบการปลูกและการผลิตแบบดั้งเดิมไว้ เช่น ทุเรียน มังคุด และมะม่วง เปิดให้เข้าชมและชิมผลไม้ได้โดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที-1 ชั่วโมง

การแบ่งเขตการปกครอง (บางกรวย)

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบางกรวยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 60 หมู่บ้าน (หรือ 41 หมู่บ้าน หากไม่นับรวมในเขตเทศบาลเมืองบางกรวยซึ่งไม่มีตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว) ได้แก่

1.วัดชลอ(Wat Chalo)10 หมู่บ้าน6.บางคูเวียง(Bang Khu Wiang)7 หมู่บ้าน
2.บางกรวย(Bang Kruai)9 หมู่บ้าน7.มหาสวัสดิ์(Maha Sawat)7 หมู่บ้าน
3.บางสีทอง(Bang Si Thong)5 หมู่บ้าน8.ปลายบาง(Plai Bang)5 หมู่บ้าน
4.บางขนุน(Bang Khanun)5 หมู่บ้าน9.ศาลากลาง(Sala Klang)6 หมู่บ้าน
5.บางขุนกอง(Bang Khun Kong)6 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบางกรวยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองบางกรวย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดชลอและตำบลบางกรวยทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลปลายบาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคูเวียงทั้งตำบล ตำบลมหาสวัสดิ์ (เฉพาะหมู่ที่ 1, 2, 6, 7 และบางส่วนของหมู่ที่ 5) และตำบลปลายบางทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลศาลากลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลากลางทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางสีทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางสีทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขนุนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนกอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขุนกองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลปลายบาง)

การคมนาคม

ถนน

ถนนสายสำคัญของอำเภอบางกรวย ได้แก่

นอกจากนี้ อำเภอบางกรวยยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีก 1 แห่ง คือ


ท่าเรือ

การแบ่งเขตการปกครอง (บางใหญ่)

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบางใหญ่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งย่อยออกเป็นหมู่บ้าน รวม 69 หมู่บ้าน ได้แก่

1.บางม่วง(Bang Muang)15 หมู่บ้าน4.เสาธงหิน(Sao Thong Hin)8 หมู่บ้าน
2.บางแม่นาง(Bang Mae Nang)18 หมู่บ้าน5.บางใหญ่(Bang Yai)6 หมู่บ้าน
3.บางเลน(Bang Len)11 หมู่บ้าน6.บ้านใหม่(Ban Mai)11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบางใหญ่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลตำบลบางม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางม่วง (เฉพาะหมู่ที่ 2 และบางส่วนของหมู่ที่ 12) ตำบลบางเลน (เฉพาะหมู่ที่ 5 และบางส่วนของหมู่ที่ 4, 11) และตำบลเสาธงหิน (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1-3)
  • เทศบาลตำบลบางใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแม่นาง (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 3, 5-8) ตำบลบางใหญ่ (เฉพาะหมู่ที่ 2 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3-6) และตำบลบ้านใหม่ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 2, 4)
  • เทศบาลตำบลเสาธงหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสาธงหิน (เฉพาะหมู่ที่ 4-8 และบางส่วนของหมู่ที่ 1-3)
  • เทศบาลตำบลบางเลน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเลน (เฉพาะหมู่ที่ 1-3, 6-10 และบางส่วนของหมู่ที่ 4, 11)
  • เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางม่วง (เฉพาะหมู่ที่ 1, 3-11, 13-15 และบางส่วนของหมู่ที่ 12)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแม่นาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแม่นาง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางใหญ่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางใหญ่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางใหญ่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางใหญ่)

การคมนาคม

ถนนสายสำคัญของอำเภอบางใหญ่ ได้แก่




โรงพยาบาล

การแบ่งเขตการปกครอง (บางบัวทอง)

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบางบัวทองแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 8 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวมทั้งหมด 81 หมู่บ้าน (หรือ 73 หมู่บ้าน หากไม่นับรวมในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทองซึ่งไม่มีตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว) ได้แก่

1.โสนลอย(Sano Loi)6 หมู่บ้าน5.ละหาร(Lahan)9 หมู่บ้าน
2.บางบัวทอง(Bang Bua Thong)14 หมู่บ้าน6.ลำโพ(Lam Pho)8 หมู่บ้าน
3.บางรักใหญ่(Bang Rak Yai)11 หมู่บ้าน7.พิมลราช(Phimon Rat)8 หมู่บ้าน
4.บางคูรัด(Bang Khu Rat)10 หมู่บ้าน8.บางรักพัฒนา(Bang Rak Phatthana)15 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบางบัวทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลเมืองบางบัวทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโสนลอยทั้งตำบล ตำบลบางบัวทอง (เฉพาะหมู่ที่ 2 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3) ตำบลบางรักใหญ่ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 2, 6, 7) ตำบลพิมลราช (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1-3) และตำบลบางรักพัฒนา (เฉพาะหมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 5, 6)
  • เทศบาลเมืองพิมลราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพิมลราช (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางบัวทอง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางรักใหญ่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางคูรัด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคูรัดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลละหาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละหารทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำโพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำโพทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางรักพัฒนา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง)

การคมนาคม

ถนนสายสำคัญของอำเภอ ได้แก่

การแบ่งเขตการปกครอง (ไทรน้อย)

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอไทรน้อยแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 7 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวมทั้งหมด 68 หมู่บ้าน ได้แก่

1.ไทรน้อย(Sai Noi)11 หมู่บ้าน5.ขุนศรี(Khun Si)8 หมู่บ้าน
2.ราษฎร์นิยม(Rat Niyom)8 หมู่บ้าน6.คลองขวาง(Khlong Khwang)10 หมู่บ้าน
3.หนองเพรางาย(Nong Phrao Ngai)12 หมู่บ้าน7.ทวีวัฒนา(Thawi Watthana)8 หมู่บ้าน
4.ไทรใหญ่(Sai Yai)11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอไทรน้อยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลไทรน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรน้อย (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 5) และตำบลคลองขวาง (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรน้อย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลไทรน้อย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลราษฎร์นิยม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลราษฎร์นิยมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเพรางาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเพรางายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไทรใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขุนศรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุนศรีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองขวาง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลไทรน้อย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทวีวัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทวีวัฒนาทั้งตำบล

การแบ่งเขตการปกครอง (ปากเกร็ด)

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอปากเกร็ดแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งย่อยออกเป็นหมู่บ้าน รวม 85 หมู่บ้าน (หรือ 51 หมู่บ้าน หากไม่นับรวมในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดซึ่งไม่มีตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว) ได้แก่

1.ปากเกร็ด(Pak Kret)5 หมู่บ้าน7.ท่าอิฐ(Tha It)10 หมู่บ้าน
2.บางตลาด(Bang Talat)10 หมู่บ้าน8.เกาะเกร็ด(Ko Kret)7 หมู่บ้าน
3.บ้านใหม่(Ban Mai)6 หมู่บ้าน9.อ้อมเกร็ด(Om Kret)6 หมู่บ้าน
4.บางพูด(Bang Phut)9 หมู่บ้าน10.คลองข่อย(Khlong Khoi)12 หมู่บ้าน
5.บางตะไนย์(Bang Tanai)5 หมู่บ้าน11.บางพลับ(Bang Phlap)5 หมู่บ้าน
6.คลองพระอุดม(Khlong Phra Udom)6 หมู่บ้าน12.คลองเกลือ(Khlong Kluea)4 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น





เจดีย์เอียงที่วัดปรมัยยิกาวาส เกาะเกร็ด

ท้องที่อำเภอปากเกร็ดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลนครปากเกร็ด ครอบคลุมพื้นที่อำเภอปากเกร็ดบนฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด ได้แก่ ตำบลปากเกร็ด ตำบลบางตลาด ตำบลบ้านใหม่ ตำบลบางพูด และตำบลคลองเกลือ
  • เทศบาลตำบลบางพลับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพลับทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะไนย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางตะไนย์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองพระอุดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองพระอุดมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าอิฐ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าอิฐทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะเกร็ดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ้อมเกร็ดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองข่อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองข่อยทั้งตำบล

การคมนาคม

ถนนสายหลักของอำเภอ ได้แก่

ปัจจุบันอำเภอปากเกร็ดมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 2 แห่ง คือ สะพานนนทบุรี (สะพานนวลฉวี) เชื่อมระหว่างตำบลบ้านใหม่กับตำบลบางขะแยง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี และสะพานพระราม 4 เชื่อมระหว่างตำบลปากเกร็ดกับตำบลบางตะไนย์และตำบลคลองพระอุดม

ท่าเรือ

ดูเพิ่ม